วันจันทร์ที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2553

ความเเตกต่างเเละการพัฒนา

การใช้เวลาของชีวิตแต่ละช่วงแต่ละวัยมีความแตกต่างกัน ไปตามธรรมชาติของวัยนั้นๆโดยแต่ละวัยต่างมีภาระกิจเด่นๆและมีการนำภาระกิจ เด่นๆเหล่านั้นได้มากำหนดบทบาทของวัยต่างๆตั้งแต่เป็นทารกจนกระทั่งเป็นวัย ชราๆด้วยเริ่มตั้งแต่ วัยเล่น?? วัยเรียน? วัยรัก วัยทำงาน? วัยสร้างตัว? วัยสร้างครอบครัว วัยทอง? วัยเกษียณ? จนกระทั่งวัยพักผ่อนตามลำดับ

?????? จากภาระกิจหลักของแต่ละวัยจะเห็นว่า “การเล่น” จะเป็นภาระกิจพื้นฐานเบื้องต้นที่มนุษย์เรามีตั้งแต่คลอดออกมาจากครรภ์มารดา และการให้เด็กมีโอกาสได้เล่นจะเป็นจุดเริ่มต้นให้เด็กคน นั้นสามารถปฎิบัติภาระกิจอื่นๆตามช่วงวัยต่อมาได้เป็นผลสำเร็จเพราะการเล่น เป็นเรื่องจริงจังและมีความความสัมพันธ์ต่อเด็กอย่างใกล้ชิด??? การเล่นที่เหมาะสมและถูกต้องตามวัยและพัฒนาการของเด็กจะเป็นเครื่องบ่งชี้ ถึงคุณภาพของเด็กอีกทั้งยังเอื้อให้มีผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในอนาคตการด้วย

??????การเล่นมีผลต่อการกระตุ้นการเรียนรู้?? พัฒนาการทางสมอง?? เสริมสร้างความฉลาด?? พัฒนาสติปัญญา? พัฒนาอารมณ์? ความคิดสร้างสรรค์?? การสื่อสาร? การปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นไม่ว่าต่างวัยหรือวัยเดียวกัน ฝึกการยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น?? การเล่นช่วยเสริมสร้างลักษณะนิสัยของเด็ก? เด็กๆจะได้เรียนรู้ทักษะต่างๆจากการเล่น?? เช่น? การทรงตัว?? การเคลื่อนไหว?? การใช้ประสาทสัมผัส?? การใช้กล้ามเนื้อต่างๆ? ช่วยให้เกิดการเรียนรู้ที่จะแก้ไขปัญหา? ฝึกความจำ?? ฝึกความมีวินัย? ฝึกความรับผิดชอบต่อตนเองและผู้อื่นซึ่งจะพัฒนาไปสู่ความรับผิดชอบต่อสังคม เมื่อเติบใหญ่ขึ้น

ข้อสังเกตจากประสบการณ์การทำงาน พบว่า มีความแตกต่างกันของเด็กวัยเดียวกันที่มีโอกาสได้เล่น กับเด็กที่ไม่มีโอกาสได้เล่นตามไม่ว่าจะด้วยเงื่อนไขหรือข้อจำกัดใดๆก็ตาม? กล่าวคือ เด็กที่มีโอกาสได้เล่นจะมีอารมณ์ร่าเริงแจ่มใส?? กระฉับกระเฉง? กล้ามเนื้อทั้งมัดเล็กที่และมัดใหญ่แข็งแร็งไม่ว่าจะเป็นทักษะการใช้มือ?? การเดิน? วิ่ง? การเคลื่อนไหว หรือการทรงตัว?? เด็กจะกล้าลองผิดลองถูกซึ่งนำไปสู่การมีทักษะในการแก้ไขปัญหา? ปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมใหม่ๆได้ง่าย มีจินตนาการ? ทักษะการใช้ภาษาค่อนข้างดี?? มีความสามารถในการโต้ตอบ ในทางตรงกันข้ามเด็กที่ไม่มีโอกาสได้เล่นจะมีผิวพรรณซูบซีด? งอแงไม่ร่าเริงแจ่มใส กล้ามเนื้อไม่แข็งแรง? ไม่กล้าแสดงออก?? ขลาดกลัวต่อการเผชิญกับคนแปลกหน้าและ ต้องการเวลาเพื่อการปรับตัวหรือสิ่งแวดล้อมใหม่??? มีข้อจำกัดในการใช้ภาษา??? ไม่กล้าโต้ตอบ ฯลฯ?

กรณีตัวอย่าง? เช่น? เด็กชายวัยขวบครึ่งสองราย รายหนึ่งได้รับการเลี้ยงดูจากพ่อแม่อยู่ในบรรยากาศของครอบครัวที่ส่งเสริม ให้เด็กได้เล่นตามวัย?? เด็กจะมีสุขภาพจิตดี? ร่าเริงแจ่มใส? เด็กมีความสุขกับการได้สำรวจ? สิ่งแวดล้อมรอบๆตัว?? เด็กจะเดินเตาะแตะหรือคลานไปโน่นมานี่? หยิบของต่างๆมาเคาะเล่น? ชอบแหย่นิ้วในรูเล็ก ๆ บางทีก็หยิบของใส่ปากซึ่งเป็นพฤติกรรมหนึ่งที่เด็กวัยนี้แสดงออกเพื่อทำความ รู้จักกับโลกภายนอกตัวเขาโดยการดูด?? กัด หรือสัมผัส?? เด็กชายคนนี้จะสามารถสื่อสารบอกความต้องการของตนเองได้? รู้จักชื่อของตนเอง? การมีโอกาสได้เล่นทำให้เด็กได้พบกับสถานการณ์ต่างๆที่เป็นเสมือนแบบฝึกหัด ให้เขาฝึกแก้ปัญหา


ดังเช่นเด็กชายคนนี้เมื่อเขาคลานไปถึงประตูบานใหญ่บานหนึ่งเขาลุกขึ้นแล้ว กางแขนออกสุดแขนตามความกว้างของประตูแต่….แขนของเขาสั้นไป? เขาพยายามครั้งแล้วครั้งเล่าที่จะจับขอบประตูทั้งสองข้างเพื่อที่จะก้าวให้ พ้นธรณีประตู เขาทำไม่ได้ เขาทำหน้าเบ้เหมือนจะร้องไห้แล้วหันมามองหน้าผู้ใหญ่ที่อยู่ใกล้ๆคล้ายกับจะ ขอความช่วยเหลือ?? เขาได้รับการกระตุ้นให้ลองพยายามใหม่และมีผู้ใหญ่ยืนให้กำลังใจอยู่ข้างๆ? ในที่สุดเขาก็ทำได้? เขาเดินไปชิดขอบประตูด้านใดด้านหนึ่งใช้มือทั้งสองจับขอบประตูเพื่อพยุงตน เองให้ก้าวพ้นธธรณีประตูโดยหันหลังออก?? เมื่อเขาทำได้ผู้ใหญ่ที่อยู่ใกล้ตั้งแต่แรกเอ่ยคำว่าเก่งและปรบมือให้?? เด็กจะเลียนแบบ? ปรบมือ และมีท่าทีที่เป็นสุข

เด็กได้ผ่านบทเรียนไปอีกบทหนึ่ง? ยังมีบทเรียนอีกมากที่คอยเขาอยู่ซึ่งประสบการณ์ที่ดีจากบทเรียนที่ผ่านไปเขา ของที่ได้จากการเล่นนั่นเองจะช่วยส่งเสริมสนับสนุนให้เขาผ่านบทเรียนอื่นๆไป ได้? ซึ่งความสำเร็จนี้จะก่อตัวขึ้นมาพร้อมกับความภูมิใจในตนเอง? ความเชื่อมั่นในตนเอง และ การเห็นคุณค่าของตนเองได้อีกทางหนึ่งด้วย ในขณะเดียวกันนั่นเองในการเล่นอีกเช่นกันที่จะช่วยสอนให้เขารู้จักความไม่ สำเร็จและกระตุ้นให้เขาพัฒนาตนเองต่อไป?? ในเด็กชายวัยขวบครึ่งอีกคนหนึ่งซึ่งได้รับการเลี้ยงดูในบรรยากาศมี่ไม่เอื้อ ให้เด็กได้เล่นตามวัยและไม่ได้ใกล้ชิดกับพ่อแม่ในบรรยากาศของครอบครัวที่ อบอุ่น? เด็กจะเซื่องซึม?? งอแง?? กล้ามเนื้อแขนขาดูอ่อนแรง?? ไม่ค่อยตอบสนองเมื่อถูกเรียกชื่อ และไม่สามารถสื่อสารเพื่อบอกความต้องการของตนเองได้??? พัฒนาการไม่สมวัย?? น่าเสียดายผู้ใหญ่ที่ดูแลเด็กชายคนที่สองนี้ได้ปล่อยเวลาที่ดีที่สุดต่อการ พัฒนาคุณภาพของเด็กให้ผ่านไปไปโดยไม่รู้ตัว

เด็กมีความเป็นปัจเจกเช่นเดียวกับผู้ใหญ่? เด็กแต่ละคนมีความชอบและไม่ชอบแตกต่างกันไป อย่างไรก็ตามเด็กทุกคนมีความต้องการที่จะเล่นเหมือนกัน?? ผู้ใหญ่จะมีบทบาทสำคัญที่จะเอื้อให้เด็กได้เล่นหรือไม่หรือให้เด็กๆได้มี โอกาสเล่นอย่างมีคุณภาพเพียงใด??? การเล่นนอกจากจะเป็นกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมพัฒนาการทั้งทางด้านร่างกาย?? อารมณ์? สังคมและสติปัญญาให้แก่เด็กแล้วยังจะช่วยให้พ่อ? แม่? ผู้ปกครองหรือผู้เกี่ยวข้องได้รู้จักลูกๆหรือเด็กๆในความดูแลของตนเองด้วย

ลองสังเกตบุตรหลานหรือเด็กๆใกล้ตัวนะคะแล้วลองพิจารณาว่าเห็นด้วยกับผู้ เขียนหรือไม่ว่าการเล่นไม่ใช่เรื่องเล่น..เล่น?

1 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ7 เมษายน 2553 เวลา 23:56

    น่าสนใจมากคะ บางที่เราก้มองข้ามไป

    ขอบคุณคะ

    ตอบลบ